สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ
***************************************
สภาพทั่วไปลักษณะที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2542 ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ มีที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 523 เมตร พิกัด 47 Q 0442151, UTH 2142475 มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านโป่ง หมู่ที่ 2 บ้านใหม่ หมู่ที่ 3 บ้านตาลเจ็ดต้น หมู่ที่ 4 บ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 5 บ้านโฮ่ง หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหก หมู่ที่ 7 บ้านหัวแม่เมือง หมู่ที่ 8 บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 9 บ้านกิ่วหน่อและหมู่ที่ 10 บ้านห้วยเฮี้ย นอกจากนี้ ยังมีหย่อมบ้านบริวารของบ้านหลัก จำนวน 4 หย่อมบ้าน ได้แก่ หย่อมบ้านห้วยช้างเฒ่า หย่อมบ้านหัวปาย หย่อมบ้านปายสองแง่ ซึ่งเป็นหย่อมบ้านบริวารของบ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 4 และหย่อมบ้านป่าซาง ซึ่งเป็นหย่อมบ้านบริวารของบ้านห้วยหก หมู่ที่ 6 เนื้อที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือมีพื้นที่อยู่ในความดูแล 334 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 860,000 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ทิศใต้ ติดกับจดตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง และตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก จดตำบลแม่นาเติงและตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ตำบลเวียงเหนือส่วนใหญ่เป็นภูเขามีป่าไม้หลายชนิดคิดเป็นร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ในส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำ สำหรับเป็นแหล่งเพาะปลูกและใช้เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำปาย ลำน้ำห้วยแม่เมือง ลำน้ำห้วยหยวก ลำน้ำห้วยหก ลำน้ำห้วยเฮี้ย ลำน้ำห้วยช้างเฒ่า ลำน้ำห้วยน้อย ลำน้ำห้วยผา ลำน้ำห้วยงู ลำน้ำห้วยโป่ง ลำน้ำห้วยกิ่วหน่อ ลำน้ำห้วยปู ลำน้ำห้วยสั้น ลำน้ำห้วยผาแดง ลำน้ำห้วยยาวและเป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคที่สำคัญของตำบลเวียงเหนือ
ประชากรตำบลเวียงเหนือ
ประชากรในตำบลเวียงเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนที่เหลือประกอบอาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างและรับราชการ จำนวนประชากรของตำบลเวียงเหนือ
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม - มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือมีทั้งเส้นทางที่ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นถนนลูกรังและถนนลำลอง การคมนาคมสามารถใช้ได้ทั้งทางรถยนต์ รถจักร -ยานยนต์และทางเดินเท้าในบางพื้นที่ เส้นทางบางส่วนสามารถใช้การได้ดีเฉพาะในบางฤดูกาล เช่น เส้นทางสายบ้านตาลเจ็ดต้นไปยังบ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 4 เส้นทางจากอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังถึงบ้านหัวแม่เมือง หมู่ที่ 7 เส้นทางจากบ้านเมืองน้อยไปยังหย่อมบ้านหัวปายและหย่อมบ้านปายสองแง่ และเส้นทางจากบ้านห้วยเฮี้ย หมู่ที่ 10 ถึงบ้านห้วยหก หมู่ที่ 6 การเดินทางโดยรถประจำทางที่จะเดินทางไปตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ต้องไปขึ้นรถที่ตำบลเวียงใต้ ซึ่งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือไม่มีที่ตั้งคิวรถโดยสารประจำทางการไฟฟ้า หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าปกติใช้ในครัวเรือน คือ หมู่ที่ 1,2,3,4 (บ้านหลักและหย่อมบ้านห้วยช้างเฒ่า),5,8,9 และหมู่ที่ 10หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบโซล่าร์โฮมในครัวเรือน คือ หมู่ที่ 4 (หย่อมบ้านหัวปายและหย่อมบ้านปายสองแง่),6 (รวมถึงหย่อมบ้านป่าซาง) และหมู่ที่ 7 (ใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลม)
การประปา
หมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ จะใช้น้ำจากประปาหมู่บ้านที่บริหารกิจการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ โดยให้บริการใน 5 หมู่บ้านพื้นราบ ได้แก่หมู่ที่ 1,2,3,5 และหมู่ที่ 8 ส่วนหมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่สูง จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4,6,7,9 และหมู่ที่ 10 ใช้ระบบประปาภูเขา ซึ่งบริหารโดยแต่ละหมู่บ้านเอง
การสื่อสารและโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ (สาขาย่อย) จำนวน 1 แห่ง
ตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง
เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 1 แห่ง
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำลำห้วย 20 สาย - บึง หนอง และอื่น ๆ 12 แห่ง
- ฝาย 133 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 5 แห่งอื่น ๆ ได้แก่
ฝ.33 12 จุด
ฝ.30 3 จุด
ฝ.5 27 ถัง
ฝ.11 6 ถัง
ฝ.99 2 จุด
ด้านเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมการเกษตร
มีอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การจักสาน การทำแหนม กลุ่มข้าวสาลี การทอผ้าชนเผ่า การตีมีดมีวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากงาบ้านโป่ง หมู่ที่ 1 กลุ่มทอผ้าบ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 4 กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านศรีดอนชัย กลุ่มเลี้ยงโคขุน โรงสีข้าวชุมชน
การท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ ถ้ำ 4 แห่ง คือ ถ้ำห้วยหก ถ้ำห้วยเฮี้ย ถ้ำลายและถ้ำห้วยนกข่อ น้ำตก 5 แห่ง คือ น้ำตกห้วยช้างเฒ่า น้ำตกห้วยปลาดำ น้ำตกห้วยน้อย น้ำตกห้วยแม่เมือง(น้ำตกหัวช้าง) และน้ำตกห้วยตองขิง สถานที่ท่องเที่ยวอีก 1 แห่ง ก็คือ โป่งน้ำร้อนโป่งป๊ะ โป่งสัก
สถานที่สำคัญทางศาสนา ได้แก่ วัดศรีดอนชัย วัดโป่ง สำนักสงฆ์พระพุทธบาท วัดตาลเจ็ดต้น สำนักสงฆ์บ้านใหม่ สำนักสงฆ์บ้านเมืองน้อย สำนักสงฆ์บ้านหัวปาย สำนักสงฆ์บ้านปายสองแง่ วัดพระธาตุเมืองน้อย สำนักสงฆ์บ้านกิ่วหน่อ สำนักสงฆ์ห้วยเฮี้ย โบสถ์คริสต์บ้านเมืองน้อยและโบสถ์คริสต์หย่อมบ้านห้วยช้างเฒ่า
กิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีดับไฟเทียน ประเพณียี่เป็ง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีสลากภัต ประเพณีปอยหางน้ำ ประเพณีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ประเพณีกินวอ ประเพณีผูกข้อมือ ประเพณีตานข้าวยาคู ประเพณีจองพารา ประเพณีจะก๊ะ (จาคะ) ประเพณีปอยส่างลาง ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีแฮนซองปูจา (ทำบุญให้ผู้ตาย) เป็นต้น
การพาณิชย์กรรม/การบริการ มีโรงแรมและเกสท์เฮาส์ จำนวน 19 แห่ง
มีร้านค้าขายของชำ จำนวน 26 แห่ง
ตลาด จำนวน 1 แห่ง
ร้านซ่อมรถ จำนวน 2 แห่ง
โรงสีข้าว จำนวน 6 แห่ง
บ้านเช่า จำนวน 33 แห่ง
ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 5 แห่ง
ร้านขายของเก่า จำนวน 5 แห่ง
โรงเลี้ยงสุกร จำนวน 1 แห่ง
โรงผลิตอิฐบล็อก จำนวน 1 แห่ง
ร้านขายอาหาร จำนวน 6 แห่ง
ด้านสังคม
ประชากร
ตำบลเวียงเหนือมีประชากรทั้งสิ้น 3,717 คน แยกเป็น ชาย 1,928 คน หญิง 1,789 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ 12.98 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2557)
การศึกษา มีสถานศึกษาอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านเวียงเหนือ (อนุบาลและประถมศึกษา) ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ หมู่ที่ 2
- โรงเรียนสังวาลย์วิทย์ 3 (โรงเรียนขยายโอกาสถึงมัธยมศึกษาตอนต้น) ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 4
ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 8 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยช้างเฒ่า หมู่ที่ 4
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านหัวปาย หมู่ที่ 4
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านปายสองแง่ หมู่ที่ 4
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านป่าซาง หมู่ที่ 6
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยหก หมู่ที่ 6
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านหัวแม่เมือง หมู่ที่ 7
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านกิ่วหน่อ หมู่ที่ 9
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยเฮี้ย หมู่ที่ 10
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเวียงเหนือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านใหม่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเมืองน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านเมืองน้อย
การสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวียงเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านศรีดอนชัย หมู่ที่ 8
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเมืองน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 4
อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 86 คน
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 80 (โดยประมาณ)
การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือสนับสนุนการดำเนินงาน หรือกิจกรรมด้านการสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชน กลุ่มหรือองค์กรที่มีกิจกรรมในด้านนี้ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ คนชรา ผู้ป่วยเอดส์ การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในระดับหมู่บ้าน/ตำบล การก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนผู้ยากไร้ การสังเคราะห์และให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในตำบล เป็นต้น
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือได้จัดให้มีการติดตั้งไฟกิ่งตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ ของหมู่บ้าน เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งมีการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนประจำตำบลเวียงเหนือ เพื่อเป็นกำลังหลักสำคัญในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจจะเกิด ขึ้นในหมู่บ้าน ชุมชนและตำบล ตลอดจนถึงการให้ร่วมมือในเรื่องดังกล่าวระดับอำเภอ/จังหวัดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในระดับตำบล ระดับอำเภอผ่านศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอำเภอปายและระดับจังหวัด